วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ทำมะนาวนอกฤดู

การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ทำมะนาวนอกฤดู


การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และการทำมะนาวนอกฤดู
สำหรับเกษตรกรที่คิดจะปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จำนวน 100 บ่อ จะใช้เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เท่านั้น ซึ่งจะใช้เงินลงทุนมากในช่วงเริ่มแรก ส่วนค่าใช้จ่ายหลักจะอยู่ที่วงบ่อซีเมนต์และฝารองซึ่งเมื่อรวมค่าใช้จ่ายกิ่งพันธุ์มะนาว, ระบบน้ำ ฯลฯ รวมเป็นเงินในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จำนวน 100 วงบ่อ เป็นเงิน 27,000 บาทโดยประมาณ ต้นมะนาวในวงบ่อเมื่อมีอายุต้นเพียง 8 เดือน จะบังคับให้ต้นออกฤดูแล้งได้โดยใช้หลักการเดียวกับการปลูกลงดินคือคลุมพลาสติกให้กับต้นมะนาวในช่วงเดือนกันยายนและกระตุ้นการออกดอกในเดือนตุลาคม จะได้ผลผลิตมะนาวแก่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มะนาวราคาแพงที่สุด เท่ากับว่าในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จะใช้เวลาเพียงปีเดียวเท่านั้นสามารถเก็บผลผลิตได้ในช่วงฤดูแล้ง
การเริ่มต้นจัดผังปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์

รายละเอียดของการเริ่มต้นการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ จะต้องวัดพื้นที่ กว้างxยาว ก่อน เพื่อจะหาพื้นที่ หลังจากนั้น เว้นทางเดินประมาณ 2 เมตร ระยะปลูกระหว่างต้น 1.20 เมตร ระยะระหว่างแถว 1.50 เมตร ปลูกแบบแถวคู่แล้วเว้นเป็นทางเดิน 2 เมตร สภาพพื้นที่ปลูกจะต้องปรับให้เรียบเหมือนกับลานตากข้าว วัดระยะการวางวงบ่อ การวางวงบ่อซีเมนต์พยายามวางให้เป็นเลขคู่เพื่อง่ายต่อการวางระบบน้ำและคำนวณแรงดันน้ำ แท็งก์จะแบ่งออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกจะก่อให้สูง ประมาณ 5 วงบ่อ หรือมีความจุน้ำได้ 1,200 ลิตรจะใช้แท็งก์นี้เพื่อผสมปุ๋ยน้ำชีวภาพแล้วเปิดน้ำดีเข้าไปผสมปล่อยไปให้ต้นมะนาวในวงบ่อได้โดยตรง ส่วนแท็งก์อีกชุดหนึ่งจะก่อให้สูงประมาณ 9 วงบ่อ จำนวน 2 แท็งก์ เพื่อกักเก็บน้ำสะอาดแล้วช่วยในเรื่องของแรงดัน
การเตรียมดินปลูกมะนาวและขนาดของวงบ่อซีเมนต์
ขนาดของวงบ่อซีเมนต์แนะนำให้เกษตรกรใช้ จะใช้ขนาดวงเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร แต่เดิมฝาวงบ่อคุณพิชัยใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร เท่ากับขนาดของวงบ่อ เมื่อปลูกไปนาน 2-3 ปี พบว่า รากของต้นมะนาวจะโผล่ออกมานอกวงและชอนลงไปในดิน ทำให้ควบคุมในเรื่องของการบังคับให้ออกนอกฤดูได้ยากมากขึ้น ปัจจุบัน จึงได้แนะนำเกษตรกรและแก้ไขให้ซื้อฝาวงบ่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของวงบ่อ ใช้ฝาวงบ่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 90 เซนติเมตร กว้างกว่า 10 เซนติเมตรดินผสมที่จะใช้ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ จะใช้วัสดุปลูกหลัก 3 ชนิด คือ หน้าดิน 3 ส่วน ขี้วัวเก่า 1 ส่วน และเปลือกถั่วเขียว 2 ส่วน ผสมคลุกเคล้ากัน การใช้เปลือกถั่วเขียวจะช่วยให้สภาพดินมีการระบายน้ำที่ดี ถ้าใช้แค่หน้าดินผสมกับขี้วัวจะทำให้ดินปลูกแน่น เวลาให้น้ำไป 3-4 วัน น้ำยังไม่ถึงข้างล่างของวงบ่อ ยังได้ยกตัวอย่างปริมาณของดินที่จะใช้ในการปลูกมะนาว จำนวน 100 วงบ่อ จะต้องใช้หน้าดินประมาณ 1 คันรถสิบล้อ เทคนิคในการผสมวัสดุปลูกจะต้องปูพื้นด้วยหน้าดินเป็นขั้นแรก หลังจากนั้น ใส่ขี้วัวเก่าเป็นชั้นที่ 2 แล้วตามด้วยเปลือกถั่วเขียวเป็นชั้นบนสุด หลังจากนั้นใช้เครื่องตีพรวนติดรถไถจะเร็วกว่าใช้แรงงานคน
การใส่วัสดุปลูกลงบ่อซีเมนต์มีเทคนิค
ที่ผ่านมาเกษตรกรที่ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ส่วนใหญ่จะใส่วัสดุปลูกในวงบ่อซีเมนต์เพียงเสมอวงบ่อเท่านั้น เมื่อรดน้ำไปได้เพียงแค่สัปดาห์เดียว วัสดุปลูกจะยุบตัวลงมาประมาณ 1 คืบมือ ถ้าเกษตรกรเติมวัสดุปลูกลงไปจะไปกลบลำต้นมะนาว ปัญหาเรื่องโรคโคนเน่าจะตามมา ดังนั้น ในการใส่วัสดุปลูกลงในวงบ่อซีเมนต์จะต้องใส่ให้พูนเป็นภูเขาเลย และที่จะต้องเน้นเป็นพิเศษขณะที่ใส่วัสดุปลูกลงในวงบ่อนั้นคือ จะต้องขึ้นเหยียบวัสดุปลูกขอบๆ วงบ่อ บริเวณตรงกลางไม่ต้องเหยียบ การใส่วัสดุปลูกให้เป็นภูเขาจะช่วยในเรื่องดินยุบลงมาเสมอวงบ่อได้นานถึง 1 ปี
วิธีการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ที่ถูกต้อง


หลังจากที่ใส่วัสดุปลูกลงในบ่อซีเมนต์เรียบร้อยแล้ว ให้เกษตรกรขุดเปิดปากหลุมให้มีขนาดเท่ากับขนาดของถุงที่ใช้ชำต้นมะนาว (โดยปกติถ้าใช้กิ่งตอนมะนาว ควรจะชำต้นมะนาวไว้นานประมาณ 1 เดือน เท่านั้น ไม่แนะนำให้ซื้อต้นมะนาวที่ชำมานานแล้วหลายเดือน หรือชำค้างปี เนื่องจากจะพบปัญหาเรื่องรากขด ทำให้เจริญเติบโตช้าหรือต้นแคระแกร็น) รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 อัตราประมาณ 1 กำมือ ถอดถุงดำปลูกต้นมะนาวให้พอดีกับระดับดินเดิม กลบดินแล้วใช้เท้าเหยียบรอบๆ ต้น เพื่อไม่ให้โยกคลอน ปักไม้เป็นหลักกันลมโยกและแนะนำให้ใช้ตอกมัดต้นมะนาวไว้กับหลัก ตอกจะผุเปื่อยหลังจากปลูกไปนานประมาณ 2 เดือน ต้นมะนาวตั้งตัวได้แล้ว แต่ที่หลายคนได้ใช้ปอฟางหรือพลาสติคทาบกิ่งมัดกับหลักจะอยู่ได้นานก็จริง แต่ปัญหาที่จะตามมาจะทำให้ลำต้นมะนาวคอด มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้น หลังจากปลูกเสร็จให้เดินท่อ PE เจาะหัวมินิสปริงเกลอร์และวางท่อ PE พาดไปกับวงบ่อเลยเพื่อสะดวกต่อการทำงาน
ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ได้ตลอดทั้งปี
ในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ปลูกไปแล้วนับไปอีก 8 เดือน เกษตรกรสามารถบังคับให้ต้นออกดอกได้ ถ้าเกษตรกรจะบังคับให้มะนาวออกฤดูแล้งในรุ่นแรกแนะนำให้ปลูกต้นมะนาวในช่วงเดือนมกราคม ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ในปีเดียวกันบังคับต้นให้ออกดอกได้โดยใช้หลักการเหมือนกับที่ปลูกลงดิน ผลผลิตมะนาวฤดูแล้งจะไปแก่และเก็บผลผลิตขายได้ราคาแพงในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนของปีถัดไป เท่ากับว่าการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ใช้เวลาปลูกเพียงปีเศษเท่านั้น เกษตรกรสามารถเก็บมะนาวฤดูแล้งขายได้
วิธีการรดน้ำต้นมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ทำอย่างไร
ในการผลิตมะนาวฤดูแล้งในวงบ่อซีเมนต์ ให้ใช้พลาสติคคลุมปากบ่อซีเมนต์เพื่อป้องกันน้ำหรือฝนที่ตกลงมาในช่วงแรกๆ แต่พบปัญหาว่าเมื่อเกษตรกรนำพลาสติคไปคลุมกลับรักษาความชื้นให้กับต้นมะนาวใช้เวลานานวันกว่าดินจะแห้ง หรือเลือกใช้หลักการ "ฝนทิ้งช่วง" ในแต่ละปีช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ของทุกปี จะมีช่วงเวลาที่ฝนทิ้งช่วง ในการผลิตมะนาวฤดูแล้งในวงบ่อซีเมนต์ ถ้าฝนไม่ตกติดต่อกัน 3-4 วัน ดินในวงบ่อจะเริ่มแห้ง ใบมะนาวจะเริ่มเหี่ยว หลังจากนั้นฉีดกระตุ้นให้ต้นมะนาวออกดอกและติดผลได้
ผลิตมะนาวฤดูแล้งในวงบ่อซีเมนต์ 2 รุ่น ต่อปี
ในช่วงเริ่มแรกของการบังคับมะนาวฤดูแล้งจะทำให้ต้นมะนาวออกดอกเพียงรุ่นเดียวคือ ช่วงเดือนตุลาคมและไปเก็บผลผลิตในช่วงเดือนเมษายนเท่านั้น ทำให้จะต้องคอยปลิดดอกมะนาวทิ้งตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเรื่อยมาจนถึงเดือนสิงหาคม-กันยายน แต่ช่วงเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมาสภาวะตลาดมะนาวผลผลิตจะเริ่มมีราคาดีตั้งแต่เดือนมกราคมเรื่อยไปจนถึงเดือนเมษายน จึงปล่อยให้มะนาวให้ผลผลิต 2 รุ่น คือมีผลผลิตขายในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์รุ่นหนึ่ง (บังคับให้ต้นออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) และมีผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนอีกรุ่นหนึ่ง (บังคับให้ออกดอกในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม) พอเข้าสู่เดือนพฤษภาคมของทุกปีราคามะนาวจะถูกลง จะตัดแต่งกิ่งมะนาวในช่วงเวลานี้ พร้อมทั้งปลิดผลมะนาวที่ติดอยู่บนต้นทิ้งให้หมด
ตัดแต่งกิ่งมะนาวในวงบ่อซีเมนต์อย่างหนัก ทุกๆ 3 ปี
ตัดแต่งกิ่งมะนาวตาฮิติในวงบ่อซีเมนต์อย่างหนัก ทุกๆ 3 ปี โดยจะเริ่มตัดแต่งกิ่งและปลิดผลทิ้งทั้งหมดภายในเดือนพฤษภาคม ในช่วงปีที่ 1-2 จะตัดแต่งบ้างแต่ไม่มากนัก จะมาตัดแต่งหนักเมื่อต้นมีอายุประมาณ 3 ปี ซึ่งในช่วงนั้นมักจะพบว่าต้นมะนาวเริ่มโทรม มีกิ่งแห้งเป็นจำนวนมาก การตัดแต่งกิ่งมีผลทำให้ต้นมะนาวแตกกิ่งออกมาใหม่และได้ผลผลิตมะนาวที่มีคุณภาพ หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จในเดือนพฤษภาคม ช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เป็นช่วงบำรุงต้นและสะสมอาหารเพื่อจะกระตุ้นการออกดอกรุ่นแรกในเดือนสิงหาคม
เทคนิคการเปิดตาดอก
เมื่อใบมะนาวเหี่ยวและเริ่มร่วงหรือเหลือใบยอดเพียง 1 คืบ จะเปิดตาดอกโดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่มีตัวกลางสูง เช่น สูตร 15-30-15 หรือ 12-24-12 อัตรา 1 กำมือ ใส่ให้กับต้นมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ รดน้ำจนเห็นว่าปุ๋ยละลายจนหมด (ช่วงการให้ปุ๋ยนี้ไม่แนะนำให้เปิดน้ำด้วยหัวสปริงเกลอร์ ควรจะให้น้ำด้วยสายยางจะดีกว่า) และยังได้แนะนำก่อนว่า ก่อนที่จะให้ปุ๋ยควรเปิดน้ำให้กับต้นมะนาวจนดินชุ่มเสียก่อน จะรดน้ำด้วยสายยาง 2-3 ครั้ง ทุกๆ 3-5 วันสำหรับการฉีดพ่นฮอร์โมนหรือธาตุอาหารทางใบควรฉีดพ่นอย่างเต็มที่ ฉีดพ่นด้วยฮอร์โมน โปรดั๊กทีฟ อัตรา 20 ซีซี ผสมกับสารเทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี และปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ (20 ลิตร) ฉีดพ่นต่อเนื่องทุก 5-7 วัน หลังจากนั้นต้นมะนาวจะเริ่มออกดอกและติดผลไปแก่ในช่วงฤดูแล้ง
การทำมะนาวนอกฤดู
การบังคับมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์
1. แปลงนี้ปลูก มะนาวพันธุ์ตาฮิติ และพันธุ์แป้น อายุประมาณ 4 ปี ทั้งหมด 600 วงในเนื้อที่ 2 ไร่เศษ
2. การให้น้ำระบบมินิสปริงเกอร์ ให้น้ำเช้า - เย็น
3. มะนาวจะราคาแพงที่สุดคือช่วงเดือน มีนาคม เมษายน ของทุกปี ดังนั้นเมื่อเก็บผลผลิตหมดในเดือน
พฤษภาคม ให้รีบดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
- ตัดแต่งกิ่ง เด็ดผลที่เหลือบนต้นออก เพื่อบำรุงต้น เร่งการสร้างยอดใหม่ ใบใหม่โดย ผลมะนาวที่คุณภาพดีที่สุดคือผลที่เกิดจากยอดใหม่ ผลที่เกิดจากกิ่งเก่าคุณภาพจะด้อยลงมา ผลที่คุณภาพต่ำสุดคือผลที่เกิดติดกิ่ง หลังตัดแต่งกิ่งเสร็จใช้ปุ๋ยเคมี 151515 ใส่หนึ่งกำมือต่อวง คุณพิชัยให้เหตุผลว่าหากไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย ต้นจะไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร และพบอาการผลเหลืองที่ไม่ได้เกิดจากอาการม้านแดดมากกว่าปกติ เนื่องจากการให้ผลผลิตในปีที่ผ่านมา
ต้นมะนาวใช้ธาตุอาหารในการเลี้ยงลูกในปริมาณที่มาก
- เพิ่มวัสดุปลูกในวงบ่อเนื่องจากในแต่ละปีวัสดุปลูกจะยุบลง เพิ่มกาบมะพร้าวบริเวณโคนต้น เนื่องจากาบ
มะพร้าวผุพังไปบ้างในปีที่ผ่านมา กาบมะพร้าวเป็นวัสดุที่ช่วยเก็บรักษาความชื้นได้อย่างดี และยังเป็นวัสดุที่ช่วยเก็บ
รักษาปุ๋ยที่จ่ายมาทางระบบน้ำก่อนจะค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้ต้นมะนาวใช้ ป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารอัน
เกิดจากการไหลบ่า หรือการระเหย
- การให้ปุ๋ยชีวภาพซึ่งได้จากการหมักหอยเชอรี่30 กก. เศษผลไม้ 10 กก. กากน้ำตาล 10 กก. เชื้อพด.
2 จำนวน 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สูตรนี้สามารถใช้ฉีดพ่นทางใบ ในอัตรา 20 - 25 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรได้ ในส่วนของ
การให้ทางระบบน้ำนั้น เทคนิคคือใช้ปุ๋ยชีวภาพในอัตรา 5 ลิตร ต่อน้ำ 1,250 ลิตร ให้ทุก 5 - 7 วัน โดยใน
การให้จะให้ครั้งละ 35 นาทีเพื่อให้กาบมะพร้าวบริเวณโคนต้นชุ่มก็พอ หลังจากนั้นก็ให้น้ำตาม รอบปกติ น้ำจะ
ค่อย ๆ ละลายธาตุอาหารลงไปให้ต้นมะนาวใช้ เป็นการจัดการที่ประหยัดปุ๋ย ใช้ปุ๋ยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

- ในระยะนี้ต้องรักษาใบและยอดให้ดี เนื่องจากมีโรค แมลงที่สำคัญเข้าทำลายในระยะยอดอ่อนถึงเพสลาดคือ เพลี้ยไฟ และโรคแคงเกอร์ ในเรื่องสารเคมีคุณพิชัยให้แนวคิดว่าบางระยะยังต้องมีการใช้อยู่ แต่ต้องเลือกใช้ในระยะที่
ปลอดภัยต่อผู้บริโภค คือใช้ในระยะก่อนเก็บเกี่ยวไม่น้อยกว่า 2 เดือน เนื่องจากแปลงเรียนรู้นี้ปลูกทั้งพันธุ์ตาฮิติ และพันธุ์แป้นคละกันไป พันธุ์แป้นอ่อนแอต่อโรคแคงเกอร์มาก
- หลักการใช้สารเคมีในแปลงมะนาว นอกจากเพลี้ยไฟ โรคแคงเกอร์แล้วยังมีโรคและศัตรูอื่น ๆ อีก เช่น หนอนชอนใบ หนอนกัดกินใบ แมลงค่อม โรคยางไหล โรคราเข้าขั้ว การเลือกใช้ชนิดของ
สารเคมีและระยะที่ใช้จึงมีความจำเป็น หากอยู่ในระยะที่ใช้สารเคมีได้ เพลี้ยไฟ และหนอนชอนใบมีสารเคมีที่ คุณพิชัยเลือกใช้ในการป้องกันกำจัดคือ อะบาแม็กติน อัตรา 310 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ( ทั้งนี้อัตราการใช้แล้วแต่ความเข้มข้นของแต่ละบริษัทที่ผลิต ) หากพบการระบาดมากจะใช้สาร อิมิดาคลอพริด อัตรา 35 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร แมลงค่อมหรือด้วงปีกแข็งใช้สารคาร์โบซัลแฟน อัตรา 2030 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซเปอร์เมทริน อัตรา 510 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร โรคราเข้าขั้วใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราแมนโคเซ็บ อัตรา 2030 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์เบ็นดาซิม อัตรา 1020 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ความถี่ในการฉีดพ่น ทุก 7 - 15 วัน หรือแล้วแต่สภาพการระบาดของโรคแมลง นอกเหนือจาก
ระยะนี้แล้ว 2 เดือนก่อนเก็บเกี่ยว คุณพิชัยเลือกใช้น้ำหมักชีวภาพที่มีฤทธิ์ไล่ และกำจัดแมลง โดยใช้น้ำหมักที่หมักจาก
สมุนไพรที่ มีรสเผ็ด ขม เหม็น เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด บอระเพ็ด สะเดา ใช้สมุนไพรดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง
30 กก. กากน้ำตาล 10 กก. พด. 7 จำนวน 25 กรัม ต่อน้ำ 30 ลิตร หมัก 20 วัน นำมาฉีดพ่นในอัตรา 25 ซีซีต่อน้ำ 20
ลิตรทุก 7 - 15 วัน
- เนื่องจากมะนาว มีอายุ ประมาณ 5 เดือนสามารถเก็บขายได้ในเดือนที่ 6 การวางแผนการบังคับให้ออกนอกฤดู คือต้องทำให้ออกดอก เดือนตุลาคม เดือนกันยายนต้องงดปุ๋ย งดน้ำ จากประสบการณ์ของคุณพิชัยจะเลือกใช้จังหวะฝนทิ้งช่วงประมาณ 715 วัน เป็นการงดน้ำไปในตัว เนื่องจากมะนาวแปลงนี้ 600 วง คุณพิชัยจัดการเพียง
คนเดียวจึงไม่สะดวกที่จะเลือกใช้พลาสติกคลุม เพราะพลาสติกก่อให้เกิดไอน้ำเกาะบริเวณผิวด้านในพลาสติก ลดความชื้น
ในดินยาก หากจะให้ได้ผลดี ในวันที่แดดออกต้องแกะพลาสติกออกให้น้ำระเหย หากฝนตกต้องคลุมพลาสติก เป็นการจัดการที่ยากในกรณีที่ไม่มีแรงงานเพียงพอ
- งดน้ำจนใบเหี่ยว สลด และหลุดร่วงประมาณ 5060 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นให้น้ำตามปกติ ปุ๋ยเคมีที่ใช้เพื่อเปิดตาดอกในระยะนี้คือ ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูงเช่น 122412 หรือ 1530 -15 ปริมาณ 1 กำมือต่อวงรดน้ำให้ชุ่มเพื่อให้ปุ๋ยละลาย
- หลังติดดอกแล้วให้น้ำตามปกติเช้า เย็น เวลาละ 5-10 นาที

- ปุ๋ยทางดินที่คุณพิชัยใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ตลอดฤดูการผลิตคือปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักจากเศษพืช มูลสัตว์ กากหอยเชอรี่ เป็นการลดต้นทุนการผลิต ลดภาวะดินเสื่อมโทรม ปรับสภาพดินให้สมบูรณ์ อย่างยั่งยืน

เคล็ดลับในการปลูกผักหวานป่า


      เคล็ดลับในการปลูกผักหวานป่า


      ผักหวานเป็นผักที่มีวิตามิน C สูง อร่อย เป็นผักที่ปลอดภัยจากสารเคมีครับที่สำคัญหากินยากและราคาแพงมาก มีคนนำมาปลูกแต่ส่วนใหญ่มักจะล้มเหลวผมเลยเอาเคล็ดลับการปลูกมาฝากผู้ที่ สนใจครับ

      ข้อ 1 ก่อนปลูกผักหวาน ต้องปลูกไม้พี่เลี้ยงให้ร่มเงาก่อนสัก 1 ปี ไม้ที่ดีและเหมาะกับการปลูกที่สุดคือ ต้นแคบ้านครับ เพราะหาง่าย โตไว เป็นพืชตระกูลถั่ว ช่วยตรึงไนโตรเจน เป็นปุ๋ยให้ดินครับ ให้ร่มเงาพอประมาณไม่ทึบจนแสงลอดผ่านไม่ได้ ลำต้นตรง ดอกเอามาแกงส้มอร่อยครับ

      ในรูปคือต้นแคที่ปลูกไว้เป็นไม้พี่เลี้ยงให้ร่มเงาครับ

      ข้อที่ 2 การปลูกโดยการเพาะเม็ดจะโตเร็วกว่าปลูกจากกล้าครับ การปลูกจากกล้าที่เราซื้อมาต้องระวังเรื่องรากอย่าให้กระทบกระเทือน อย่าให้ดินหุ้มรากแตกครับ ไม่งั้นต้นมักตายหรือแกรนครับ

      การซื้อเม็ดผักหวานที่สุกจะหาได้ยาก ถ้าได้เม็ดสดมาก็ต้องล้างเอาเปลือกหุ้มเมล็ดออกก่อน การล้างเม็ดต้องใส่ถุงมือ ไม่งั้นมันจะกัดมือ ล้างเสร็จให้ผึ่งไว้ในร่ม พอแห้งต้องเอาเม็ลดเก็บไว้ในตู้เย็นครับ เพราะเม็ดผักหวานจะมีช่วงเดือนเมษายน ปีละ 1 ครั้ง การปลูกจะต้องรอปลูกช่วงต้นฝน หรือเดือน พค -กค การเก็บในตู้เย็นจะช่วยยืดเวลาและรักษา % งอกครับ

      ข้อ 3 ช่วงต้นฝนที่เราจะปลูก เราก็เอาเมล็ดมาเพาะในแกลบดำ หรือ เอากระสอบชุบน้ำแล้วเอาคลุมเมล็ด และรดน้ำให้มีความชื้นส่ำเสมอ เพื่อรอให้รากมันงอก เมื่อได้เม็ดพร้อมราก แล้วจึงย้ายไปปลูกในหลุม หรือบางคนก็เอาเม็ดไปปลูกเลย แต่การปลูกต้องมั่นใจว่าฝนตกอย่างต่อเนื่อง ถ้าฝนทิ้งช่วงต้องรดน้ำบ่อยๆครับเพื่อเพิ่ม % การงอกครับ

      ข้อ 4 การขุดหลุมไม่ต้องกว้างมาก แต่เน้นความลึกให้ลึกสัก 30-50 ซ.ม. เหมือนขุดเสาบ้าน เราขุดลึกเพราะต้องการให้รากมันเดินลงดินได้ลึกๆ ในแนวดิ่ง เพื่อให้ต้นเจริญเติบโดไดเร็ว เลียนแบบธรรมชาติแหล่งที่อยู่อาศัยในธรรมชาติที่มันชอบดินลูกลัง หรือดินที่โปร่ง ที่รากมันเดินได้เร็วตามความพรุนของดิน 
      ขั้นตอนการเตรียมดิน เราเอาปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายแล้วแนะนำ มูลวัวนมที่เก็บไว้อย่างน้อย 6 เดือน มูลไก่ไม่แนะนำเพราะมันเค็ม มีกรดยูริคสูง ต้นมันจะเสียน้ำและเหี่ยวตาย เมือผสมดินเสร็จเอาดินลงไปก้นหลุม จนเต็มหลุมและพูนดินให้สูงกว่าระดิบผิวดินสัก 5-10 ซ.ม. ต้องสูงกว่าระดับดินมีเหตุผลครับเพื่อกันน้ำขังในช่วงฝนตกหนักเมล็ดถ้าน้ำ ขังเมล็ดจะเน่าครับ การเตรียมหลุมควรเตรียมล่วงหน้าก่อนปลูกสัก 1 เดือนครับ

      ข้อที่ 5 เมื่อฝนเริ่มตกและมั่นใจว่าเข้าหน้าฝนดีแล้ว เราก็เตรียมเมล็ดตาม ข้อ 3 เลยครับ การปลูกถ้าเพาะให้เม็ดมีราก การฝังเม็ดมีเคล็ดลับคือเราใช้ไม้ไผ่ขนาด ครึ่งนึ้วแทงทำรูนำร่องไปก่อน ให้ลึกกกว่ารากเล็กน้อย แล้วค่อยๆหย่อนเมล็ดลงไปอย่าให้รากขาด ค่อยๆกลบดิน กรณีไม่ได้เพาะให้รากงอกการหยอดเมล็ด ก็ใช้ไม่แทงนำร่องให้ลึก 5 ซม หยอดเมล็ดลงไปโดยเอาส่วนขั้วเมล็ดขึ้นบน แล้วค่อยกลบดินบางๆ จากนั้นก็คลุมหลุมปลูกด้วยฟางบางๆครับ
      ผักหวานมันจะใช้เวลางอกนานมากครับ ประมาณ 2-3 เดือน ถึงจะเห็นต้นอ่อนครับ บางทีรอจนนึกว่ามันจะไม่งอกซะแล้ว ระหว่างนั้นฝนทิ้งช่วงต้องรดน้ำวันเว้นวันครับ (การหยอดเม็ดหลุมละ 2-3 เมล็ดให้ห่างกันในแต่ละมุม กันบางเมล็ดไม่งอกครับ หรือบางต้นตายในช่วงปีแรก)

      ข้อที่ 6 จากนั้นมาถึงเคล็ดลับอีกข้อ คือ การทำที่ป้องกันต้นอ่อนครับช่วงปีแรกสำคัญครับ การทำที่ป้องกันจะช่วยมันรอดพ้นจากการจิกของไก่ การเหยียบต้นอ่อนของสัตว์เลี้ยงหรือศัตรูอื่นๆ ป้องกันแดดจัดที่จะทำให้ต้นมันตาย หรือรอดจากอากาศแห้งแล้ง การทำก็ง่ายๆคือใช้ไม้ไผ่มาปักหลัก 4 - 6 มุม สูงสัก 50 ซม (ในภาพทำต่ำไปหน่อย พอปีที่ 2 ต้นมันจะล้นออกมา แต่ต้องรอให้ลำต้นสูงสัก 30 ซม จึงจะมั่นใจได้ว่าต้นมันรอดไม่ต้องการที่ป้องกันอีก) จากนั้นก็ล้อมด้วย ตาข่ายเขียวรอบหลุมที่ปลูก ด้านบนก็ใช้ตาข่ายคลุมด้วยกรณีที่แดดตอนบ่ายแรงส่องตรงๆโดนต้นผักหวาน หรือใช้ทางมะพร้าวคลุมก็ได้ แต่ถ้าพืชนำร่องให้ร่มเงาไม่ให้โดนแดดตอนบ่ายตรงๆ ก็ไม่ต้องใช้ที่คลุมด้านบนก็ได้ครับ ถ้าอยู่กลางแดดทั้งวันไม่มีร่มเงาจากไม้นำร่อง จำเป็นมากสำหรับการพรางแสง ตาขายเขียวที่ใช้ใช้ป้องกันแสงได้ที่ 50- 60 % หมายความว่าแสงลอดได้ 40 -50%ครับ






      ข้อที่ 7 ระยะปลูกไม่แน่นอนครับแล้วแต่ว่าเราจะต้องการปลูกเป็นพุ่มแบบระยะชิด เพื่อเก็บเอาแต่ยอดขาย หรือซึ่งต้องการปลูกแบบห่างกันพื่อให้ต้นใหญ่เอาผลิตเมล็ด (บางทีต้องรอเกิน 10 ปี กว่าจะให้เม็ด) และเก็บยอดด้วยก็ปลูกห่าง
      ตามความเหมาะสมกับพื้นที่ครับ ให้ถือหลักว่าดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง ตามหลักของวิชาเกษตรที่เคยได้เรียนมาตอนอยู่มหาวิทยาลัยครับ

      (ที่ทดลองปลูกหลังบ้านผม เป็นแบบปลูกชิด ระยะ 2*2 เมตร เป็นการทดลองปลูกเพื่อเก็บยอดครับ ) 


      ข้อที่ 7 เคล็ดลับการดูแล แรกปลูก - 1 ปีครึ่ง เป็นช่วงวิกฤติของผักหวานครับต้นที่โตก็โตไปเลยครับ ต้นที่ตายก็ตายโดยไม่มีเหตุผล ต้นที่แกรนก็แกรนไป เพื่อนๆสูง 50 ซม บางต้นยังแกรนเลยอายุ 3 ปีแล้วสูงไม่ถึง 20 ซม การกำบังแดดโดยร่มเงาต้นไม้นำร่องเป็นสิ่งสำคัญ และ ต้องช่วยเรื่องการป้องกันลำต้นในช่วง แรกปลูก- 2 ปีแรก ด้วยมุ้งเขียวจะช่วยให้มันรอดมากขึ้น จากการประเมินด้วยสายตา อัตราการงอกของเมล็ดอยู่ประมาณ 70% ตอนที่ปลูก
      เมื่อมันงอกแล้วเป็นต้น มันจะรอดเหลืออีกไม่เกิน 80% ของต้นที่งอกครับในปีที่ 2 ก็ถือว่าสูงกว่าปลูกแบบฝากเทวดาดูแลมากครับ 





      ข้อที่ 8 เคล็ดลับที่สำคัญ เมื่อเข้าปีที่ 2 มันต้องผ่านฤดูหนาวและฤดูแล้งที่สำคัญของมัน ถ้าผ่านไม่ได้มันมักจะตายช่วงนี้แหละครับ ข้อปฎิบัติต้อง รดน้ำวันเว้นวัน รดจนชุ่ม แต่ไม่แฉะจนน้ำขังนะครับ มันจะเน่าตายครับ ต้องทำต่อเนื่อง จนเข้าฤดูฝนปีที่ 2 ครับ ต้นมันจะใหญ่ขึ้นผิดหูผิดตาครับ พอเข้าแล้งปีที่ 3 ต้นมันจะโตพอที่จะหาเลี้ยงตัวเองได้ แต่ก็ต้องรดน้ำครับ 7 วันครั้ง และคลุมโคนต้นด้วยฟางข้าวเพื่อลดการระเหยของน้ำ

      ภาพของผักหวานที่สมบูรณ์ผ่านมา 1 ปีครึ่งครับ









      จะเห็นว่าการปลูกผักหวานต้องใช้การดูแลแบบใกล้ชิดอย่างน้อย 3 ปี จึงมั่นใจว่ามันจะรอดแน่นอน จากนั้นก็ฝากเทวดาเลี้ยงได้เลยครับ มันจะอึดสุดๆ และให้ยอดท่านกินในหน้าแล้ง


      ข้อ 9 เคล็ดลับที่ดูว่าต้นผักหวานอายุ 3 ปี ขนาดไหนถึงจะปล่อยไม่ต้องดูแล ผมให้ข้อสังเกตุง่ายๆ

      > ต้นต้องสูงไม่น้อยกว่า 50 ซม
      > เราสังเกตเปลือกที่ลำต้นจะมีสีน้ำตาลเข้ม เหมือนผิวต้นกระถิน
      > การเจริญเติบโตในปีต่อไปจะค่อยๆโตช้าๆ ไม่รวดเร็วเหมือนสามปีแรกครับ
      > ช่วงหน้าแล้ง มีนาคม มันจะเริ่มแตกยอดอ่อนให้เราเก็บครับ

      ผมมีต้นที่ผมปลูกอีกสวนมาให้ดูครับ อายุ 3 ปี ที่โตเป็นปกติ สมบูรณ์และเริ่มให้ยอดอ่อนครับ (ส่วนที่โตไม่ดีลองไปดูในบล็อดเก่าของผมที่เขียนไว้ครับ)

      ข้อ 10 เคล็ดลับการดูแล

      > การให้ปุ๋ยให้ปุ๋ยคอกเท่านั้น และที่มันชอบคือมูลโคที่เก็บสักครึ่งปี ผ่านการย่อยสลาย ให้ช่วงต้นฝนโรยรอบๆทรงพุ่ม ต้นละ 5 - 10 กก แล้วแต่ขนาดต้น มูลสัตว์อื่นต้องหมักอย่างน้อย 1 ปี ขึ้นไป ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ไม่ควรให้เป็นดีที่สุด

      > ผักหวานชอบดินร่วน ดินลูกรัง หรือดินที่มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบดินเหนียวดินที่ระบายน้ำไม่ดี ไม่ชอบที่แฉะ เราจะพบผักหวานในป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ ป่าที่มีการทิ้งใบในหน้าแล้ง หรือ พบมากตามภูเขาแถว จ.ลำปาง ลำพูน ตาก กาญจนบุรี ที่มีหน้าแล้งชัดเจน เราจะพบว่าไฟไหม้ป่าจากล่าสัตว์และการเก็บของป่า ที่สำคัญก็คือ ผักหวาน เมื่อมีผักหวานคนเก็บของป่าจะใช้ไฟเผาเอาไข่มดแดงไฟก็จะไหม้ป่า และการเผาป่าของคนเก็บของป่าเพื่อจะให้ เห็ดถอบ หรือ เห็ดเผาะ มันเป็นเห็ดดิน พอเผาเสร็จ เมื่อฝนตกมันจะเกิดดีขึ้น คนเก็บของป่าเล่าให้ฟัง ตอนแรกไปทำงานทางเหนือสงสัยว่าไฟทำไมไหม้ป่าบ่อยพอไปถามคนเก็บของป่าเลยรู้ ครับ การปลูกผักหวานช่วยลดโลกร้อน ตามกระแสรักโลกครับ

      > การบังคับผักหวานแทงช่อ ง่ายๆ คือ การรูดใบผักหวานจากกิ่งให้หมด จากนั้นรดน้ำวันเว้นวันครับ

      > ศัตรูพืชพอมีแต่ไม่มาก ที่พบคือ เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยไฟ ที่ชอบมาดูดน้ำเลี้ยงตอนต้นยังเล็ก ในช่วงที่แล้งจัดๆ ฝนทิ้งช่วงนานๆ


      ผมชอบกินผักหวานครับ แกงผักหวานใส่ปลาย่างสุดยอดของอาหารครับ
      หรือ เอามาผัดน้ำมันหอยก็อร่อยๆสุดๆ เอาสเต็กมาแลกก็ไม่ยอม

      >>> สาเหตุที่ผมปลูกผักหวานเพราะผมขี้เกียจครับ ตอนเด็กๆผมอยู่ลพบุรีช่วงหน้าแล้งก็จะไปหาเก็บผักหวานป่า ตามป่าละเมาะ หรือชายเขา ไกลก็ไกล ร้อนมากช่วง เมษายน แดดโคตรร้อน มันจะมีอยู่ไม่กี่จุด และไม่มีการบอกกัน ถ้าไปช้าจะโดนเก็บไปก่อน เดินไปฟรี ถ้ารอให้มันออกช่อใหม่ก็ช้าไป จึงเป็นที่มาของการพยายามปลูกผักหวานของผม ตอนนี้หน้าแล้งผมมีผักหวานกินตลอด ทุกปี

      >>> สุดท้าย ถ้าข้อมูลทีประโยชน์กับท่าน ก็ขอยกความดีให้คุณพ่อของผม ที่ปลูกและดูแล ผมเพียงหาเมล็ดให้ท่านปลูกเท่านั้นเองครับ เมื่อสวนหลังบ้านผมมีผักหวานโตขึ้น ปีหน้าจะเอามารายงานผู้ที่สนใจครับ<<<

วิธีการเพาะปลูกมันสำปะหลังที่เหมาะสม



1. การเตรียมดิน
             หากดินที่ทำการเพาะปลูกมันติดต่อกันหลายปี ควรปรับปรุงดิน เพื่อรักษาระดับผลผลิตในระยะยาว ด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเปลือกมันชนิดเก่าค้างปี (จากโรงแป้งทั่วไป) ที่หาได้ในท้องถิ่น หรือ ปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ หมุนเวียนบำรุงดิน ในกรณีที่พื้นที่ประเภทหญ้าคา ควรใช้ยาราวด์อัพหรือเครือเถาต่าง ๆ ควรใช้ยาสตาร์เรน ฉีดพ่นยาจำกัดเสียก่อนการไถ จากนั้นไถครั้งแรกโดยไถกลบวัชพืชก่อนปลูกด้วยผาน 3 (อย่าเผาทำลายวัชพืช) ให้ลึกประมาณ 20-30 ซม. แล้วทิ้งระยะไว้ประมาณ 20-30 วัน เพื่อหมักวัชพืชเป็นปุ๋ยในดินต่อไป ไถพรวนด้วยผาน 7 อีก 1-2 ครั้ง ตามความเหมาะสม และรีบปลูกโดยเร็ว ในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่

2. การเตรียมท่อนพันธุ์
            ใช้ท่อนพันธุ์มันที่สด อายุ 10-12 เดือน ตัดทิ้งไว้ไม่เกินประมาณ 15 วัน โดยติดให้มีความยาวประมาณ 20 ซม. มีตาไม่น้อยกว่า 5 ตา เพื่อป้องกันเชื้อราและแมลง ควรจุ่มท่อนพันธุ์ในยาแคปแทน 1.6 ขีด (160 กรัม) ผสมร่วมกับมาลาไธออน 20 ซีซี ในน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 5 นาที ก่อนปลูก

3. การปลูก
            ปลูกเป็นแถวแนวตรง เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โดยใช้ระยะระหว่างแถว 1.20 เมตร ระยะระหว่างต้น 80 ซม. และปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งตรงลึกในดินประมาณ 10 ซม.


4. การฉีดยาคุมเมล็ดวัชพืช
สำหรับการปลูกในฤดูฝนสภาพดินชื้น ควรฉีดยาคุมวัชพืชด้วยยาไดยูรอน (คาแม็กซ์) หลังจากการปลูกทันที ไม่ควรเกิน 3 วัน หรือก่อนต้นมันงอก หากฉีดหลังต้นมันงอก อาจทำให้ต้นมันเสียหายได้ ใช้ยาในอัตรา 6 ขีด (600 กรัม) ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นได้ประมาณ 1 ไร่ครึ่ง



5. การกำจัดวัชพืชและการใส่ปุ๋ย
กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1 ประมาณ 30-45 วัน หลังการปลูก โดยใช้รถไถเล็กเดินตาม หรือ จานพรวนกำจัดวัชพืช ติดท้ายรถแทรกเตอร์ พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25-50 กก./ไร่ ห่างจากต้นมัน 1 คืบ (20 ซม.) จากนั้นใช้จอบกำจัดวัชพืชส่วนที่เหลือ พร้อมกับกลบปุ๋ยไปด้วย หรือใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุม ห่างจากโคนต้น 1 คืบ แล้วกลบดินตามก็ได้ ข้อสำคัญควรใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 2 ประมาณ 60-70 วัน หลังการปลูก โดยปฏิบัติเช่นเดียวกันกับครั้งแรก กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 3 ตามความจำเป็น โดยใช้จอบถาก หรือฉีดพ่นด้วยยากรัมม๊อกโซน (ควรใช้ฝากครอบหัวฉีด เพื่อป้องกันไม่ให้ยาโดนตาและลำต้นมัน)

6. การเก็บเกี่ยว

ทำการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงอายุที่เหมาะสม คือ ประมาณ 10-12 เดือน พร้อมทั้ง วางแผนการเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อการปลูกในคราวต่อไปส่วนของต้นมันสำปะหลังที่ไม่ใช้ เช่น ใบ กิ่ง ก้าน หรือ ลำต้น ควรสับทิ้งไว้ในแปลง เพื่อให้เป็นปุ๋ยพืชสดในดินต่อไป