วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การปลูกสตรอเบอร์รี่

การปลูกสตรอเบอร์รี่


 วิธีการปลูก 

ปลูกโดยการปลูกในวัสดุปลูกคือ ทรายหยาบ + แกลบดิบปลูกให้พอดีกับขนาดของต้นไม่ลึกเกินไป
ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีตอนปลูกใหม่ เพราะอาจทำให้ระบบรากเสียหายและต้นตาย ได้ ควรปล่อยเฉพาะน้ำเปล่าๆ การปลูกต้นไหลนั้นระดับรอยต่อของรากและลำต้นจะต้องพอดีกับระดับของผิววัสดุปลูก ไม่ปลูกลึกหรือตื้นเกินไป
ถ้าปลูกลึก คือ ส่วนลำต้นจมอยู่ต่ำกว่าผิววัสดุปลูก หากเชื้อโรคเข้าทางยอดของลำต้นจะทำให้ยอดเน่า
ต้นเจริญเติบโตช้าและอาจถึงตายได้ ถ้าปลูกตื้น คือ ปลูกต้นไหลแล้วรากลอยขึ้นมาเหนือผิววัสดุปลูก ทำให้รากถูกอากาศและ
แห้ง ต้นเจริญเติบโตช้า ไม่สมบูรณ์ และอาจเป็นสาเหตุให้ต้นตายได้เช่นกัน การปลูกควรให้ขั้วไหลด้านที่เจริญมาจาก
ต้นแม่หันเข้ากลางแปลง เพื่อที่จะให้ผลสตรอเบอรี่ที่ผลิตออกมาอยู่ด้านนอกของแปลงได้รับแสงแดดเต็มที่
ทำให้รสชาติดี สะดวกในการเก็บเกี่ยวและลดปัญหาเรื่องโรคของผลได้ ปลูกหลุมละ 1 ต้น การใช้ต้นไหลที่ผ่าน การเกิดตาดอกจากพื้นที่สูงจะทำให้ได้ผลผลิตเร็ว และมีช่วงการเก็บเกี่ยวยาวนานขึ้น
เมื่อปลูกต้นไหลแล้ว ระยะตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงประมาณเดือนธันวาคม ต้นไหลบางพันธุ์จะผลิตส่วนไหลออก
มาเรื่อยๆ ให้เด็ดหรือตัดส่วนไหลออกให้หมดทุกต้น ไม่ควรเลี้ยงไหลไว้เพื่อใช้ปลูกต่อไป เพราะจะทำให้ต้น
ที่ย้ายปลูก (ต้นเดิมที่นำลงมาจากภูเขา)สร้างตาดอกรุ่นต่อมาช้าลง และทำให้ต้นโทรม ขาดความแข็งแรงได้
นอกจากนี้ยังจะกระทบกระเทือนต่อผลผลิตรวมทั้งแปลงอีกด้วย

การให้น้ำ + การให้ปุ๋ย


เนื่องจากเป็นการปลูกระบบไฮโดรโปรนิคส์ ทั้งน้ำและปุ๋ยจะมาพร้อมกันในระบบน้ำหยด ซึ่งควบคุมด้วยตัวตั้งเวลาให้น้ำวันละ 4 ครั้ง
การกำจัดวัชพืช


การปล่อยให้มีวัชพืชขึ้นในแปลงสตรอเบอรี่ จะมีผลทำให้ผลผลิตลดลงได้ เนื่องจากวัชพืชเป็นตัวแย่งน้ำแย่งอาหาร
ทั้งยังเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลงที่จะระบาดทำความเสียหายให้แก่สตรอเบอรี่ด้วย เกษตรกรต้องหมั่นกำจัดวัขพืชอย่า
สม่ำเสมอ พร้อมทั้วตัดแต่งใบและลำต้นแขนงที่ไม่สมบูรณ์ออกทิ้ง ซึ่งแต่ละกอควรเก็บหน่อไว้ประมาณ 6 - 8 หน่อ 

และอย่าทิ้งเศษพืชไว้ในแปลงปลูก เพราะจะทำให้เป็นที่สะสมโรค ควรเก็บเศษพืชอัดใส่ถุงปุ๋ยให้แน่นผูกปากถุงทิ้งไว้
เมื่อสลายตัวแล้วจะได้นำไปใช้เป็นปุ๋ยต่อไป





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น